THE BIG SHORT

เรื่องราวของบุคคล 4 คนที่เข้ามาพัวพันกันหลังจากมองเห็นช่องโหว่ว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ กำลังจะประสบกับวิกฤติอสังหาริมทรัพย์และสินเชื่อฟองสบู่ ในขณะที่รัฐบาล และสื่อ กลับมองไม่เห็น พวกเขาเกิดไอเดียในการลงทุน ที่ทำให้จมดิ่งลึกเข้าไปในระบบธนาคารสมัยใหม่ที่ทำให้เขาต้องตั้งคำถามกับทุกคนและทุกอย่าง ดูหนังการ์ตูน


ภาพยนตร์ที่พูดถึงปัญหา “วิกฤตสินเชื่อซับไพรม์” ของสหรัฐอเมริกาในปี 2008 ที่ทำให้เศรษฐกิจของอเมริกา (และหลายส่วนของโลก) ต้องพังทลายในระดับที่ อลัน กรีนสแปน อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ บอกว่า “วิกฤตดังกล่าวเป็นเหมือนสึนามิที่พัดถล่มเศรษฐกิจครั้งแรกในรอบ 100 ปี” ทำให้บริษัทวาณิชธนกิจหลายแห่งต้องปิดตัวหรือไม่ก็ต้องรอให้รัฐเข้ามาอุ้ม, ผู้คนตกงาน ไร้บ้าน และหลายกองทุนขาดทุนย่อยยับ อันมีจุดเริ่มต้นจากตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่เกิดภาวะฟองสบู่แตก

ความน่าสนใจของหนังเรื่องนี้อยู่ที่การหยิบเรื่องหนัก ๆ ดังกล่าวมาเล่าด้วยจังหวะที่สนุก และเต็มไปด้วยความยียวน เอาเถิดเอาล่อกับเรื่องจริงที่แสนเจ็บปวดเพื่อนำไปสู่สัจธรรมที่ว่า ทุก “ระบบ” ที่เรามองว่าเสถียรและมั่นคง วันหนึ่งก็อาจจะพังได้เช่นกัน ระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ก็เช่นกัน…


ภาพยนตร์เรื่องนี้ดัดแปลงบทจากหนังสือ non-fiction ขายดีชื่อเดียวกันกับหนัง ผลงานเขียนของ ไมเคิล ลูอิส (เจ้าของผลงานหนังสือ Moneyball และ The Blind Side ซึ่งถูกนำมาดัดแปลงเป็นภาพยนตร์เช่นกัน) ได้หยิบเรื่องราวดังกล่าวมาเล่าใหม่ด้วยการเปลี่ยนมุมมอง แทนที่จะเล่าเรื่องผ่านสายตาของ loser หรือผู้แพ้จากระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ มาเล่าเรียกดรามาน้ำตาริน ตัวเรื่องกลับสำรวจความย่อยยับของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ผ่านสายตาของ “ผู้ชนะ” จากระบบนี้ ที่เป็นเพียงคนเพียงหยิบมือที่มองโลกต่างออกไป

ในวันที่ผู้คนในระบบทุนนิยม “มองโลกในแง่ดี” ในมุมที่ว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกากำลังดีวันดีคืน ธุรกิจการเงินฝั่งอสังหาริมทรัพย์แข็งแรงดี ผู้คนในอเมริกามีบ้านในสัดส่วนที่มากขึ้น เป็นไปตามอุดมคติในแบบ “ความฝันอเมริกัน” (American Dream) มีบ้าน มีรถ มีครอบครัวที่อบอุ่นแบบชนชั้นกลางทั่วไป


แต่คนกลุ่มนี้ ได้แก่ ดร.ไมเคิล เบอร์รี (แสดงโดย คริสเตียน เบล) ผู้จัดการบริษัทเฮดจ์ฟันด์ (บริษัทกองทุนประเภทหนึ่ง) เบลได้สร้างตัวละครตัวนี้ให้ออกมาได้แสบมาก ๆ, จาเร็ด เวนเน็ตต์ (ไรอัน กอสลิง) เซลส์ขายพันธบัตรจาก Deutsche Bank ผู้มีวาทศิลป์เยี่ยมยอดน่าชวนไปอบรมนักขายตรง, มาร์ค บาม (สตีฟ คาร์เรลล์) ผู้บริหารกองทุนผู้อยากแก้เผ็ดระบบการเงินอเมริกา, ชาร์ลี เกลเลอร์ (จอห์น มากาโร) และ เจมี่ ชิพเลย์ (ฟินน์ วิททรอค) เนิร์ดการเงินที่ตั้งบริษัทเฮดจ์ฟันด์เล็ก ๆ คู่กัน ท้ายที่สุดคือ เบน ริกเคิร์ท (แบรด พิตต์) อดีตนักการเงินที่หันหลังให้แวดวงนี้ แต่กลับมาอีกครั้งในฐานะกุนซือของ เกลเลอร์ และชิพเลย์

คนกลุ่มนี้ไม่ได้มอง “วอลล์สตรีท” ตลาดการเงินในสหรัฐฯ ด้วยสายตาที่เชื่อมั่นเท่าไหร่นัก ตรงกันข้าม พวกเขามองโลกการเงินด้วย “การมองโลกในแง่ร้าย” ผ่านการลงทุนที่เรียกว่า “การขายชอร์ต” ซึ่งเป็นการเก็งกำไรที่สวนทางกับตลาดในแง่ที่ว่า หากตลาดโต หุ้นมีมูลค่าเพิ่ม พวกเขาเจ๊ง แต่หากตลาดแย่ พวกเขาจะอยู่ฝั่ง “ผู้ชนะ”

Comments